Skip to content
October 25, 2012 / up2tree

มอเตอร์เกียร์ 1 เฟส โดยขดลวดสเตเตอร์

มอเตอร์เกียร์กับการพันขดลวด

ระบบภายในของมอเตอร์เกียร์นั้น จะมีการพันขดลวดแบ่งออกไว้เป็นชุดๆ สามารถสังเกตุเห็นได้ง่ายและเด่นชัด โดยเรียกอีกอย่างว่า Concentrated Winding โดยระบบทั่วไปจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชุด คือ ขดวิ่ง (Running) และขดเริ่ม (Starting) ซึ่งโดยปกติแล้ว ขดวิ่งจะพันด้วยลวดทองแดงขนาดใหญ่และพันหลายรอบมาก ส่วนในการพันขดเริ่มนั้น จะพันด้วยลวดขนาดเล็กและจะไม่พันหลายรอบ ซึ่งจำนวนของขดลวดจะต้องมีจำนวนที่เท่ากัน เช่น ขดวิ่ง = 2 ชุด ขดเริ่มก็จะ = 2 ชุดด้วยเช่นกัน

วิธีการพันขดลวดสำหรับมอเตอร์เกียร์นั้น ขดวิ่งจะต้องพันอยู่ด้านในของสล็อท ส่วนขดเริ่มจะพันอยู่ด้านนอกสล็อท โดยที่ขดลวด 1 ชุดจะประกอบด้วย 3 คอยล์ คอยล์ใน คอยล์กลาง และคอยล์นอก จะต้องเริ่มพันจากคอยล์ในก่อนเป็นอันดับแรก เมื่อพันได้รอบครบแล้วจึงเริ่มพันที่คอยล์กลาง ไปสิ้นสุดที่คอยล์นอก

ขดลวดสเตเตอร์คือ ขดลวดที่พันอยู่กับตัวสล็อทของสเตเตอร์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับขดลวดที่พันอยู่กับสล็อทของโรเตอร์

มอเตอร์เกียร์ 3 เฟสกับลักษณะของขดลวดในรูปแบบ whole coil lap ซึ่งมีลักษณะตรงกันกับการพันขดลวดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งคือชุดขดลวด 3 ชุด ภายในขั้วแม่เหล็ก 1 ขั้ว จึงจะรวมกันเรียกว่า 1 เฟส และแต่ละชุดเมื่อรวมกลุ่มกันจะเรียกว่าคอยล์ เช่น มอเตอร์ที่มีสามสิบหกสล็อทสี่โพล จำนวนต่อโพลจะเท่ากับเก้า สรุปได้ว่า 1 โพล จะได้ 9 คอยล์

ระยะพิชของคอยล์

คอยล์ใน มีระยะ 1 – 4

คอยล์กลาง มีระยะ 1 – 6

คอยล์นอก มีระยะ 1 – 8

October 24, 2012 / up2tree

ระบบคุมระดับความเร็วมอเตอร์อินดักชั่น

++ มอเตอร์อินดักชั่น แบบไฟฟ้า 3 เฟส มีระดับความเร็วที่นิ่งระดับหนึ่ง ความเร็วเต็มอัตราที่เปลี่ยนแปลงจะไม่เกิน 5 เปอเซ็นต์ แต่มีระดับความยากในการควบคุมความเร็วในระดับต่างๆภายใน DC ของระบบมอเตอร์ แต่ก็สามารถทำการควบคุมได้ด้วยวิธีต่างๆดังนี้

กำหนดความเร็วของสเตเตอร์ด้วยข้อกำหนดต่างๆ

  • เปลี่ยนแปลงค่าแรงดันไฟฟ้าต่างๆที่ส่งไปให้มอเตอร์ เป็นวิธีที่สะดวกและประหยัดที่สุด แต่กลับไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากมีข้อเสียที่มากกว่าข้อดี เช่น ความเร็วเปลี่ยนแปลงน้อยเกินไป และยังส่งผลให้สนามแม่เหล็กภายในมอเตอร์มีค่าความเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
  • เปลี่ยนค่าความถี่ให้กับมอเตอร์ไฟฟ้า เป็นอีกวิธีที่สามารถควบคุมความเร็วให้กับมอเตอร์ได้เพียงแต่ว่าเป็นวิธีที่ไม่แพร่หลายนัก เพราะการที่จะปรับความเร็วจากเครื่องกำเนิดมีข้อจำกัดอยู่
  • เพิ่ม – ลด จำนวนของโพลให้กับสเตเตอร์ วิธีนี้เป็นที่นิยมในปัจจุบัน และสามารถประยุกต์ใช้กับมอเตอร์ แบบสไควเรลเกจได้ เพราะ สเตเตอร์จะต้องมีจำนวนเท่ากับโรเตอร์เสมอ วิธีการแก้ไขโพลให้กับสเตเตอร์ทำได้โดย เพิ่มขดลวดหลายชุดลงในสล็อท ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามอเตอร์มีขนาด 36 สล็อท ให้ทำการพันขดลวดเตรียมไว้ 2 ชุด โดยมีขนาด 4 โพล และ 6 โพล ถ้าทำการส่งความถี่ที่ 50 ไซเกิล ความเร็วจะมีค่า 1,500 และ 1,000 ตามขนาดของโพลแต่ละชุด ขดลวดแต่ละชุดนั้นจะทำงานไม่พร้อมกัน โดยที่ถ้าขดลวดชุดหนึ่งกำลังทำงานอยู่ ขดลวดอีกชุดจะถูกปล่อยไว้เฉยๆ เมื่อต้องการระดับความเร็วอื่น จึงทำการเปลี่ยนชุดขดลวดเป็นอีกชุด ซึ่งควรมีการติดตั้งระบบอัตโนมัติเพิ่มในระบบเพื่อการสลับมอเตอร์ที่สะดวกมากขึ้นขณะทำงาน